Behind the Badge ความคลั่งไคล้ในความสมบูรณ์แบบของอัชเทอร์เบิร์ก จอห์น อัชเทอร์เบิร์ก เรียกมันว่า ‘ความหลงใหลอย่างบ้าคลั่ง’ และได้บอกเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของเขาแบบมีสีสัน

Behind the Badge:
Behind the Badge:

Behind the Badge ความคลั่งไคล้ในความสมบูรณ์แบบของอัชเทอร์เบิร์ก จอห์น อัชเทอร์เบิร์ก เรียกมันว่า ‘ความหลงใหลอย่างบ้าคลั่ง’ และได้บอกเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของเขาแบบมีสีสัน

หน้าผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตูของลิเวอร์พูลจะมาเล่าเรื่องราวในชีวิตของเขาตั้งแต่เริ่มต้นอาชีพ ก่อนจะรับหน้าที่ต่อมาในฐานะผู้เล่น/โค้ชให้กับรานเมียร์โรเวอร์สโมสรที่เขาได้รับการยอมรับในฐานะตำนาน

แรงขับในการแสวงหาความสมบูรณ์แบบที่เขาปลดปล่อยมาออกมาที่แม้แต่กระทั่งเจอร์เก้น คล็อปป์ ยังเคยพูดถึงเขาว่า “เขาเป็นหนึ่งในคนที่ทำงานหนักที่สุดที่ผมเคยพบมา เขาทำงานโค้ช 25 ชั่วโมงต่อวัน”

และอัชเทอร์เบิร์กไม่ได้ปฏิเสธในเรื่องนี้

“ผมต้องการที่จะเป็นที่หนึ่งในสิ่งที่ผมทำอยู่เสมอ ผมมีความหลงใหลอย่างบ้าคลั่ง นั่นแหล่ะปัญหา!”โค้ชชาวดัตช์กล่าวกับ Liverpoolfc.com

“ตอนผมอายุ 12 ปี ผมก็ฝึกซ้อมทุกวันแล้ว บางครั้งผมฝึกสองรอบต่อวัน ผมเล่าให้คุณฟังได้ ตอนนั้นที่ผมอยู่กับอูเทรชต์ ผมฝึกซ้อมวันละ 4 ครั้ง สองครั้งกับทีมชุดใหญ่, กับทีมยู-18 และทีมสำรอง”

“คุณอาจจะพูดได้ว่ามันไม่ดีต่อสุขภาพ และมันไม่ใช่เรื่องที่ดีที่สุดที่จะทำ แต่ในท้ายที่สุดมันทำให้คุณได้เรียนรู้วิธีการฝึกฝน และเรียนรู้เรื่องต่างๆ ด้วยทักษะทุกอย่างที่คุณมี”
“ตอนที่ผมทำหน้าที่โค้ช ผมซื้ออุปกรณ์ทั้งหมด และอุปกรณ์ฝึกซ้อมทั้งหมด ที่ทรานเมียร์เป็นอุปกรณ์ของตัวผมเองทั้งหมด เพราะว่าอะคาเดมีของทรานเมียร์ไม่ได้มีเงินมากนัก ดังนั้นผมจึงตัดสินใจซื้อทุกอย่าง ตั้งแต่ลูกบอล, กรวย, และผมก็มีเครื่องยิงบอล รวมทั้งเน็ตสำหรับเกมเทนนิสฟุตบอล ทุกอย่างที่ผมคิดว่ามีขาย ที่สามารถช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนา”

“ผมยังซื้อไฟสนามเป็นของตัวเอง เพราะว่าที่อิงเกิลโบโรห์ พวกเขาไม่มีไฟ และผู้รักษาประตูต้องพุ่งบนพรมที่ปูบนพื้นคอนกรีต ผมพูดว่า ‘มันไม่เหมาะกับผู้รักษาประตู’ ดังนั้นผมจึงเข้าอินเทอร์เน็ต ผมคิดว่าน่าจะเป็น eBay และผมซื้อไฟดวงใหญ่ๆ พวกนี้”

“เซสชั่นแรกที่ผมทำงาน เรามีไฟอาคารบางดวง และไฟรถยนต์ของผม และผมวางมันไว้บนอิงเกิลโบโรห์ตอนเริ่มแรก เรามีพื้นที่เล็กๆ แต่เห็นได้ชัดว่าแบตเตอรี่จะหมด ดังนั้นเราจำเป็นต้องหาทางออกใหม่! ผมซื้อไฟสนาม ขุดหลุมใหญ่ในสนามหญ้า และวางเสาขนาดใหญ่ไว้ตรงนั้น ซึ่งเราทำไว้ทั้งสองด้าน”

มันไม่โกหกหากจะบอกว่าห่างกันคนละโยชน์กับเมลวู้ด ที่ซึ่งอัชเทอร์เบิร์กได้รับหน้าที่ในตำแหน่งปัจจุบันของเขามาตั้งแต่ซัมเมอร์ปี 2011
เขากล่าวต่อไปว่า : “เรามีพื้นที่ 40 ตารางเมตรที่เราสามารถพุ่ง ตอนที่มันแย่ๆ มันเหมือนกับฟาร์มหมูที่คุณมีบ่อโคลน

“แต่อีกด้านหนึ่งคุณได้ปลูกฝังความมุ่งมั่น เด็กๆ จะคลุกโคลนสีดำ คุณไม่เห็นกระทั่งชุดที่พวกเขาสวมใส่ มันตลกดี แต่คุณต้องปลูกฝังความมุ่งมั่นนิดหน่อยเช่นกัน เราต้องปรับตัว”

“จากนั้นผมจะขึ้นไปซ้อมเซสซั่นบนอัฒจันทร์หลัก อัฒจันทร์ชั้นบนสุดของทรานเมียร์ เพื่อฝึกกระโดด กระโดดขาเดียว กระโดดสองขา วิ่งบ้าง พยายามทำบางอย่างที่ฝึกข้างล่างไม่ได้ คุณต้องพยายามที่จะจะสร้างสรรค์ตลอดเวลา”

“ผมไปจบที่ชาฟท์บิวรี (สโมสรเยาวชน) เพื่อฝึกซ้อมที่นั่น และทำลายสนามของพวกเขา พวกเขาหยุดมันหลังจากนั้นหนึ่งปี เพราะเหล่าผู้รักษาประตูไปทำให้มันเสียหายเยอะมาก”

“นั่นคือสิ่งที่คุณต้องลอง ท้ายที่สุดผมได้สร้างโรงเรียนผู้รักษาประตูไปทั่ว ผมพาพวกเขาไปฝึกสนามอื่นๆ อีกด้วย เพราะว่าอย่างน้อยพวกเขาสามารถพุ่งไปบนสนามหญ้า และมีแสงไฟ คุณต้องพยายามสร้างสรรค์ และช่วยเหลือพวกเขา ซื้อลูกบอลของตัวเองเพื่อจะมีอุปกรณ์ดีๆ ในการช่วยเหลือพวกเขา ท้ายที่สุดผมทำถุงมือของตัวเอง ผมยังมีอุปกรณ์ผู้รักษาประตูบางอย่างที่จะช่วยเหลือผู้รักษาประตูทุกคนอีกด้วย”

“มันอาจจะมีมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับผมในการทำเรื่องนี้ แต่สำหรับผม ผมได้เงินจากทรานเมียร์ ดังนั้นผมอยากจะลงทุน”
อัชเทอร์เบิร์กย้ายจากทรานเมียร์มาอยู่กับลิเวอร์พูลก่อนเริ่มต้นฤดูกาล 2009-10 และเริ่มต้นจากที่อะคาเดมี ที่เขาปรับตัวเข้ากับสโมสรได้เป็นอย่างดี และโดยเฉพาะกับทุกอย่างที่เหมาะกับผู้รักษาประตู

“ตอนที่ผมอายุ 14 ปี ผมเคยเล่นให้กับทีมชุดใหญ่ของท้องถิ่น และผู้จัดการทีมเป็นอดีตมืออาชีพจากอูเทรชต์ ทีมบ้านเกิดของผม เขามักจะพูดเสมอถึงการดันแนวรับขึ้นสูง และพยายามบีบพื้นที่ด้านหลัง ซึ่งคุณต้องเรียนรู้เกมรุกหลายๆ อย่าง และคุณต้องรับเรื่องเล่านี้มาใช้ในอาชีพของคุณ”โค้ชวัย 48 ปีย้อนรำลึก

ก้าวแรกในอาชีพของอัชเตอร์เบิร์กอยู่กับเอ็นเอซี เบรด้า ต้นยุค 2000 ที่ทัศนคติที่คล็อปป์พูดถึงหลายปีต่อมา ได้ฝังรากลึกในจิตใจของเขาแล้ว

“คติประจำใจของผมคือ ผมอยากจะดีกว่าคนอื่นๆ ความเชื่อของผมคือการทำงานหนักจะส่งผล และคุณต้องพยายามทำงานหนักต่อไป”

“ถ้ามีคนที่อยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าผมในตอนนั้น อย่างที่คนอื่นๆ คิดว่าเขาอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าผม หลังจากนั้นผมจะคิดว่าตัวเองต้องทำงานหนักเป็นสองเท่าเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าผมจะแซงหน้าเขา นั่นคือสิ่งที่ผมมักจะทำในทุกๆ ที่”

ความปรารถนาที่จะเป็นผู้รักษาประตูเบอร์ 1 ทำให้อัชเทอร์เบิร์กลดระดับจากลีกสูงสุดของเอฟซี ไอนด์โฮเฟ่นในปี 1996 และสองปีหลังจากนั้นข้อเสนอจากเมอร์ซีย์ไซด์ และจอห์น อัลดริดจ์ได้เปลี่ยนเส้นทางอาชีพ และชีวิตของเขา

“ผมคิดว่าเป็นฤดูกาล 1998-99 ที่ผมฝึกซ้อมความฟิตกับวิลเล่ม ทเว ทีมในดัตช์ พรีเมียร์ลีก และผมกำลังรอให้บางอย่างเกิดขึ้น” เขาย้อนรำลึก

“ผมน่าจะเดินทางมาทดสอบฝีเท้ากับทรานเมียร์สองสัปดาห์ ผมฟิตจริงๆ ที่วิลเล่ม ทเว ระดับความฟิตของผมบ้ามากๆ ซึ่งผมเตรียมพร้อมจริงๆ ที่จะไปที่นั่น และตอนที่ผมมาไปที่นั่น ผมลงเล่นสองเกม และเก็บสองคลีนชีต ผมคิดว่าทั้งสองเกมผมเซฟจุดโทษได้”

“เรามีนักเตะดีๆ อย่างเดวิด เคลลี, อลัน มาห์น และเลียม โอ’ไบรอันที่ยังคงอยู่ที่นั่น การฝึกซ้อมเป็นไปได้ด้วยดีจริงๆ ในท้ายที่สุดจอห์นบอกว่าเขาอยากจะเซ็นสัญญากับผม มันเกิดขึ้นอย่างนั้น”

“และหลังจากนั้นแน่นอนว่าคุณเริ่มลงเล่น มันเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม ความตั้งใจของผมมีสูงเสมอ เหมือนกับชาวดัตช์ทุกคนที่หมกมุ่นอยู่กับความต้องการที่จะพัฒนา และทำงานหนัก”

“หลังจากนั้นผมต้องเรียนรู้เรื่องต่างๆ ในอังกฤษ เกมที่ต้องเน้น 100 เปอร์เซ็นต์เสมอ ผมต้องเรียนรู้วิธีการที่จะเก็บคลีนชีต อะไรประมาณนั้น นั่นคือคุณภาพที่ผมเรียนรู้ในอังกฤษ ไม่ใช่จากฮอลแลนด์ เพราะว่าในฮอลแลนด์มันใช่ปัญหาเลยถ้าคุณแพ้ 0-1 หรือ 0-2 มันค่อนข้างจะแตกต่าง”

“ผมยังมาจากยุโรป ดังนั้นคุณต้องดีกว่าคนอื่นๆ ในความรู้สึกของผม ผมต้องต่อสู้เพื่อผลการแข่งขัน นั่นคือสิ่งที่ผมต้องเรียนรู้ในอังกฤษ มันทำให้ผมกลายเป็นผู้รักษาประตูที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น”

“แม้ว่ามันจะเหมือนกันนิดหน่อย แต่เขา (อัลดริดจ์) ต้องการให้ผู้รักษาประตูเป็นตัวกวาด ยืนสูง และออกมาเปิดบอล นั่นเหมาะกับผม และผมมาจากจุดนั้น”
ในเวลานั้นทรานเมียร์อยู่ในดิวิชั่นสองของอังกฤษ และมีชื่อเสียงในฐานะผู้เชี่ยวชาญการแข่งบอลถ้วย ภายใต้การคุมทีมของไอดอนลิเวอร์พูลอย่างอัลดริดจ์

“ยากที่จะเอาชนะ เล่นบอลยาว บอลจังหวะสอง และเพรสซิ่งสูง” นั่นคือสิ่งที่อัชเทอร์เบิร์กสรุปเกี่ยวกับรูปแบบการเล่นของพวกเขา

ทรานเมียร์เข้าถึงนัดชิงลีก คัพ ฤดูกาล 1999-00 และเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายเอฟเอ คัพ ติดต่อกัน ที่พวกเขาพ่ายในรอบเดียวกันต่อหงส์แดง 2-4 ที่เพรนตัน พาร์กปี 2001

พวกเขาเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศอีกครั้งใน เอฟเอ คัพ 2004 สามปีก่อนที่อัชเตอร์เบิร์กจะหมดสัญญาที่นั่น ก่อนกลับมาร่วมทีมในฐานะนักเตะ/โค้ช ที่เขาผ่านการลงเล่น 300 เกมในปี 2008

หลังจากทำหน้าที่ฝึกสอนอย่างต่อเนื่องตลอดอาชีพของเขา เขาปรับตัวสบายๆ และรู้ว่าผู้รักษาประตูคนไหนที่เขาอยากพัฒนาตั้งแต่กับทรานเมียร์ จนมาถึงปี 2009 กับลิเวอร์พูล

“สำหรับผม โปรไฟล์ที่ผมมีตั้งแต่อยู่ตอนที่ผมอยู่กับทรานเมียร์ ผมอยากจะมีผู้รักษาประตูที่สูงอย่างน้อย 1.90 เมตร ราวๆ 1.90 เมตร พวกเขาต้องเร็ว และเล่นบอลด้วยเท้าทั้งสองข้าง”เขาอธิบายถึงคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ในทุกวันนี้

“ด้วยวิธีการเล่นของผมเอง การดันแนวรับขึ้นไปสูง และเดินหน้าบุก ในหัวของคุณ คุณต้องคิดว่า ‘ผมจะแย่งบอลคืนมาได้ไหม? แล้วผมจะทำยังไงให้แย่งมันได้ก่อนคนอื่นๆ’ นี่คือวิธีที่ผมพยายามจะฝึกสอนเช่นกัน แม้แต่ตอนที่อยู่กับทรานเมียร์ คุณพยายามจะสอนเรื่องนี้ และตอนนี้ก็เหมือนกัน”

“ผมไม่รู้ว่าผมคิดล่วงหน้าแบบนั้นไหม แต่ตามวิถีของลิเวอร์พูลมักจะเป็นฟุตบอลที่เน้นรุกด้วยเช่นกัน ดังนั้นแปลว่าตามความคิดของผม ผู้รักษาประตูต้องสามารถป้องกันพื้นที่เหล่านั้น นั่นเป็นวิธีที่ผมคิดอยู่เสมอ”

“ผมคิดแบบนี้เสมอ และเป็นวิธีการที่ผมเรียนรู้จากในฮอลแลนด์ ถ้าคุณสามารถยืนสูง และปกป้องพื้นที่ด้านหลังของกองหลัง คุณสามารถเล่นเล่นกับทีมโดยมีนักเตะ 11 คน (ในการเล่นเกมรับ) เพราะคุณต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะเซฟบอล”

“แต่อีกวิธีหนึ่งนั้นยากกว่ามาก เพราะถ้าคุณปักหลักอยู่หน้าปากประตูที่คุณแค่อยู่ตรงนั้น คุณไม่สามารถขึ้นมายืนสูงได้ ผมคิดกับตัวเองเสมอว่า ‘ผมต้องสอนเด็กๆ ให้ออกมายืนสูง’ เพราะถ้าคุณทำเรื่องเหล่านี้ได้ตอนที่คุณอายุน้อยๆ คุณจะเรียนรู้ได้เร็วกว่าตอนที่อายุมากขึ้น”

“และคุณทำให้พวกเขามีแนวคิด และทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสม โดยให้เขาพร้อมรุกอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าคุณแค่รอตอนที่ยิงบอลมาที่ประตู”

ปรัชญาเชิงรุกนี้ส่งผลต่อวิธีการฝึกสอนของเขากับผู้รักษาประตูที่กำลังมาแรง

“ผมคิดถึงผู้รักษาประตูรุ่นเยาว์ของผมเสมอแม้กระทั่งทีม ยู-9 ผมต้องการให้พวกเขาเล่นในการดันแนวรับขึ้นสูง ในเซสซั่นกับทรานเมียร์ ผมให้ทุกคนมารวมตัวกันเล่นโกลเล็ก และพาบอลทั่วสนาม และหลังจากนั้นผมบอกพวกเขาในเวลาเดียวกันว่า ‘ถ้าบอลอยู่ตรงนี้นายน่าจะยืนตำแหน่งนี้ ถ้าบอลอยู่ตรงนี้ นายน่าจะอยู่ตำแหน่งนี้’ “

“จากนั้นเราจะจำลองลูกฟรีคิก ลูกเตะมุม ทุ่มบอลไปด้านหลัง ดังนั้นพวกเขาจึงจำเป็นต้องสื่อสาร ผู้รักษาประตูทุกคนต้องเรียนรู้ร่วมกันในเวลาเดียวกัน นั่นคือสิ่งที่ผมทำกับผู้รักษาประตูตั้งแต่ (รุ่นอายุ)12 ปีขึ้นไปกับโกลใหญ่ๆ คุณต้องเรียนรู้จากเรื่องนี้ ตอนที่ผมเข้ามาอะคาเดมีของลิเวอร์พูล และผมเริ่มต้นกับอะคาเดมี ผมก็ทำแบบเดียวกัน”

“การเรียนรู้ร่วมกันทั้งหมด ‘โอเค ลูกบอลอยู่ในตำแหน่งนี้ คุณต้องต้องทำมุมนี้ ลูกบอลอยู่ตรงนี้คุณต้องอยู่ในมุมนี้’ คุณต้องสอนพวกเขาทุกคนในเรื่องของแนวคิด และวิธีการที่พวกเขาพร้อมที่จะเล่นเกมรุก”

“ในลิเวอร์พูลเรามีทรัพยากรมากขึ้น เพราะว่าเรามีห้องวีดีโอ ซึ่งเราทำวีดีโอจากผู้รักษาประตูทุกคน เราใช้ 3-4 จังหวะ และจังหวะในแง่ลบ 1-2 จุดมาเปิดให้กับเด็กๆ ทุกคน หลังจากนั้นคุณต้องตั้งคำถามว่า คุณคิดยังไง? คุณจะทำยังไงให้ดีขึ้น? คุณจะทำอะไรให้ดีกว่านี้? คุณเรียนรู้การวางเท้า และตำแหน่งร่างกาย และรูปทรงทางเทคนิค”

“ถัดจากนั้น คุณต้องจ่ายบอล และเตะบอล และอะไรทุกอย่างเหล่านี้ แรงขับของผมบ้าคลั่งมากในบางครั้ง คนอื่นๆ พูดว่าผู้รักษาประตูต้องเรียนรู้การป้องกันประตูในทีม แต่มันเป็นไปไม่ได้

  • เพราะมีเทคนิค ทักษะต่างๆ มากมายที่จำเป็นในการฝึกซ้อมส่วนบุคคล ถัดจากนั้นคุณต้องสอนผู้รักษาประตูในการฝึกซ้อมทีมเพื่อให้ใช้การตัดสินใจอยู่เสมอ เพราะว่าคุณต้องเรียนรู้ที่จะตัดสินใจให้ถูกต้อง”

“แต่เหนือสิ่งอื่นใดคุณต้องสอนพวกเขาในส่วนของเทคนิค วิธีที่พวกเขาเคลื่อนที่ จ่ายบอลด้วยเท้าซ้าย เท้าขวา พวกเขาต้องจ่าย และเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ถูกต้อง พวกเขาต้องอยู่ในตำแหน่งของประตูที่ถูกต้อง”

“แนวคิดของผมมักจะเป็นการสอนผู้รักษาประตูตรงหน้าประตูให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะว่านั่นคือวิธีการที่พวกเขาจะเรียนรู้มุมต่างๆ การวางตำแหน่งร่างกาย การวางเท้า ตำแหน่งไหล่ และการวางมือ”

“ในที่สุดแล้วทุกคนไม่สามารถเป็นผู้รักษาประตูระดับสูงได้ แต่สำหรับผม หากคุณทำงานกับพวกเขา คุณอยากให้พวกเขามีโอกาสสร้างอาชีพในฐานะผู้รักษาประตู นั่นอาจเป็นลีก ทู, คอนเฟอร์เรนซ์, ลีก วัน หรืออะไรก็ตาม ชัดเจนว่าไม่ใช่ทุกคนสามารถเล่นให้กับลิเวอร์พูล แต่เราต้องพยายามให้พวกเขาบรรลุเป้าหมาย”

อัชเทอร์เบิร์กเคยร่วมงานกับผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล 3 คนจากเคนนี ดัลกลิช, เบรนแดน ร็อดเจอร์ส และคล็อปป์ ที่เขาเห็นรายละเอียดการเปลี่ยนถ่ายที่สำคัญ และการประสานงานของบอสกับเจ้าของทีมปัจจุบัน

“แน่นอนว่าตั้งแต่เจอร์เก้นเข้ามา เราก้าวไปข้างหน้าอย่างมาก” เขาเน้น

“พวกเขา (เฟนเวย์ สปอร์ตส์ กรุ๊ป) มักจะพยายามค้นหา กับทัพเสริมทัพอย่างไมเคิล (เอ็ดเวิร์ด) และเด็กๆ นักเตะ และความก้าวหน้า การลงทุนที่มากขึ้น”

“เมื่อบอสเข้ามา บอสเพิ่มเติมหลายอย่างที่เห็นในเวลานี้ วิธีการที่เขาจัดการ วิธีการที่เขาสร้างทีม และสภาพแวดล้อม และวิธีที่บอสทำเรื่องต่างๆ ให้เกิดขึ้นในสโมสรอย่างมืออาชีพ”

“เขาดึงโมนา (เนมเมอร์) เข้ามา และอันเดรียส (คอร์นเมเยอร์) ที่ทำอาหารดีๆ และในด้านกายภาพที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น เป๊บ (ลินเดอร์ส) ถูกดึงตัวกลับมา เพราะว่าเขาช่วยได้ เขามีปีเตอร์ (คราเวียตซ์) อยู่แล้วที่ช่วยอะไรหลายๆ อย่างที่เขาต้องการสำหรับเกมต่างๆ

บอสสร้างทีมโดยมีตัวเองเป็นแกนหลักที่เขามีความสุขในการทำงานด้วย”

“หลังจากนั้นวิตอร์ (มาตูส) เข้ามาภายหลัง แจ็ค (โรบินสัน) กำลังช่วยเหลือผมในฐานะผู้ช่วยในตอนนี้ ซึ่งเยี่ยมมาก นอกจากนี้เนื่องจากผมอายุมาขึ้นนิดหน่อย ดังนั้นคุณต้องการคนหนุ่ม และช่วยเหลือผมในการพัฒนา นั่นคือสถานการณ์บอสสร้างขึ้นภายในสโมสร”

“เจ้าของทีมพัฒนาขึ้นทุกปี พวกเขาหาจุดที่ปรับปรุง และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น นั่นคือสิ่งที่คุณเห็นตลอดหลายปีที่ผ่านมา มันเหมือนกันกับนักเตะ ทุกครั้งเราพยายามหานักเตะที่ดีขึ้น นักเตะที่เก่งกว่าเข้ามา และคุณจะเห็นการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในทุกๆ ปี”

“เราทำก้าวต่อไปได้แล้ว ในท้ายที่สุด เราก็จะอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้อง ผมจะบอกอย่างนั้น”

ติดตาม   ข่าวกีฬา  เพิ่มเติม

ขอขอบคุณแหล่งข่าว liverpoolfc

ติดตามข้อมูลข่าวสารอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ menuufa.com

บทความน่ารู้เพิ่มเติม  wendykrispincatererweddings.com

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here